กิจกรรมเสวนา หัวข้อ “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับสมอง ...ความ จริงของนักดื่ม”
กิจกรรม กิจกรรมเสวนา หัวข้อ “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับสมอง ...ความ จริงของนักดื่ม”

“หมอประชาผ่าตัดสมอง” ตีแผ่อันตรายจากสุราท าสมองฝ่อ ป่วยสโตรก เกล็ดเลือดต่ำ เสี่ยงตาย พิการสูง “ป่อเต็กตึ๊ง” เปิดข้อมูลหลัง 4 ทุ่มเก็บเคสอุบัติเหตุ 80-90% เมาหัวราน้ำ แนะดื่มไม่ขับใช้รถ สาธารณะแทน ด้านแกนนำชุมชนคนเคยดื่มหนัก เผยร่างพังแทบเอาตัวไม่รอด โชคดีหาหมอทัน แต่ต้องอยู่กับโรคที่เกิดจากการดื่ม-สูบ ไปตลอดชีวิต เมื่อวันที่ 19 กันยายน 66 ที่โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กรุงเทพฯ เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต มูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว เครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับ และเครือข่ายชุมชนลดปัจจัยเสี่ยง สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมเสวนา หัวข้อ “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับสมอง ...ความ จริงของนักดื่ม” พร้ อมแสดงละครสั้น สะท้อนชีวิตจริงสิงห์นักดื่ม-สูบ ผลกระทบและวันเฉียดตาย โดยเป็นการจำลองเรื่องจริงของนายรังสรรค์ ชื่นประเสริฐ ประธานชุมชนวัดอัมพวา เขตบางกอกน้อย โดยเครือข่ายละครเฉพาะกิจเธียเตอร์ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สสส. กล่าวว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดเป็นสารเสพติดให้ โทษชนิดหนึ่งที่มีผลกระทบทางสุขภาพและทางสังคมอย่างกว้างขวาง จากข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่า ทุกปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากพิษของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประมาณ 3 ล้านคน เป็นสาเหตุของโรคมากกว่า 230ชนิด ทั้งนี้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบแนวโน้มคนไทยอายุ15 ปีขึ้นไป 57 ล้านคน ดื่มแอลกอฮอล์ลดลงจาก 28.40% ในปี 2560 เหลือ 28% โดยเพศ ชายดื่ม 46.4% เพศหญิงดื่ม 10.8% ในจำนวนนี้มี 5.73 ล้านคน เคยดื่มหนักในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็น 10.05% แบ่งเป็น ดื่มหนักประจ า 1.37 ล้านคน คิดเป็น 2.40% และดื่มหนักครั้งคราว 4.36 ล้านคน คิดเป็น 7.65% ทั้งนี้ ผู้ดื่มหนักมีแนวโน้มลดลงจาก 11.9% ในปี2560เหลือ 10.05% ในปี 2564 นพ.พงศ์เทพ กล่าวต่อว่า จากการวิจัยต้นทุนผลกระทบทางสังคมจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในไทยปี2564 ได้ประมาณการความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์165,450.5 ล้านบาท หรือ 1.02% ของ GDP และคิดเป็น 2,500 บาทต่อหัวประชากร และต้นทุนทางอ้อมจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 159,358.8 ล้านบาท เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ท าให้เกิดผลกระทบ 1.ด้านสุขภาพ เช่น ป่ วยโรคตับ โรคหัวใจขาดเลือดแอลกอฮอล์เป็นพิษเฉียบพลัน 2.ด้านสังคมและวัฒนธรรม เช่น เกิดความรุนแรงในครอบครัว ทะเลาะวิวาทอุบัติเหตุทางถนน 3.ด้านเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ เช่น สูญเสียค่ารักษา หน้าที่การงานมีปัญหา ทรัพย์สินเสียหาย ขาดโอกาสเติบโตทางเศรษฐกิจ การที่ผู้ชายไทยอายุคาดเฉลี่ยในปี 2564 เท่ากับ 73.5 ปีต่ำกว่าผู้หญิงถึง 7 ปี ส่วนหนึ่งมาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ “สสส. ร่วมกับเครือข่ายขับเคลื่อนงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วางยุทธศาสตร์ทั้ด้านนโยบาย ด้านวิชาการ ภาคประชาสังคม และการท างานเชิงพื ้นที่ เพื่อท าให้เกิดสังคมไทยห่างไกลจากภัยสุรา เพราะร่างกายเรามีร่างเดียว เปลี่ยนไม่ได้ ต้องดูแลให้ดีเพื่อให้ใช้ได้ยาวนาน จนถึงวัยชรา จึงอยากเชิญชวนให้ใช้โอกาสนี้งดเหล้า เข้าพรรษา หรือหาช่วงเวลาพักตับ ลดการท าลายสมอง พักการดื่มให้จริงจัง หรืองดดื่มได้จะดีที่สุด” นพ.พงศ์เทพ กล่าว นพ.ประชา กัญญาประสิทธ์ิศัลยแพทย์ระบบประสาทและหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม กล่าวว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผลกระทบต่อสมองทั ้งทางตรงและทางอ้อม โดยผลทางตรง ท าให้ สมองมีอายุสั ้นลง สมองฝ่อก่อนวัยอันควร เป็นอัลไซเมอร์เร็วกว่าที่ควรจะเป็น เช่น บางคนอาจจะเริ่มเลอะเลือนตอนอายุ 90 ปี แต่แค่ 50 ปี ก็เริ่มจ าใครไม่ได้แล้ว ส่วนผลกระทบโดยอ้อม จะส่งผ่านระบบอื่นๆ ของร่างกาย เช่น 1.ระบบหลอดเลือด หลอดเลือดหัวใจ ระบบการเผาผลาญของตับ แอลกอฮอล์จะท าให้หลอดเลือดอักเสบ เสื่อมสภาพ เกิดการอุดตัน หรือเปราะแตก สามารถเกิดสโตรกได้มากกว่าคนที่ไม่ดื่ม 2.ท าให้หน้าที่ในการผลิตสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวของตับท างานได้น้อยลง ท าให้เกล็ดเลือดน้อยลง 3.ทพให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะดื่มเส้นเลือดรับแรงดันไม่ได้ก็แตก เส้นเลือดในสมองแตก 3.เกิดอุบัติเหตุ จะท าให้เลือดออกมาก หยุดไหลช้า หรือเลือดไหลไม่หยุด ผ่าตัดยาก เพราะห้ามเลือดยาก เพิ่มความเสี่ยงในการพิการและเสียชีวิตมากกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม ดังนั้นสิ่งสำคัญคือดื่มต้องไม่ขับ นายจิรัฐติกร บรรจงกิจ ผู้ควบคุมหน่วยกู้ชีพป่อเต็กตึ้ง กล่าวว่า จากประสบการณ์ให้การช่วยเหลือการบาดเจ็บ พบว่าช่วงหลัง 4 ทุ่ม 80% ของจ านวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากความเมา และวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ หรือหยุดเทศกาล จะเพิ่มเป็นกว่า 90% ซึ่งการช่วยเหลือทำได้ยากลำบาก เพราะคนเมาครองสติไม่ได้ สับสน ให้ข้อมูลวกวน บางครั้งท าร้ ายเจ้าหน้าที่ ท าลายของบนรถพยาบาล จึงขอเสนอให้มีการตั้งด่านตรวจมากขึ้น ผับ บาร์ต้องร่วมรณรงค์ให้คนที่ดื่มไม่ขับรถ ใช้บริการรถสาธารณะ หรือบริการคนขับรถแทน ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีโครงการเมาไม่ขับกลับกับป่อเต็กตึ๊ง โทรไปที่สายด่วน 1418 ขอให้เจ้าหน้าที่ป่อเต็กตึ๋ง ช่วยขับรถกลับบ้านได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ในฐานะคนทำงานปลายน้พไม่อยากให้ภาครัฐมีนโยบายขยายเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะทุกวันนี้ปัญหาที่เราแบกรับก็หนักมากพอแล้ว นายรังสรรค์ ชื่นประเสริฐ ประธานชุมชนวัดอัมพวา เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ อายุ 58 ปี กล่าวว่าเริ่มกินเหล้า สูบบุหรี่ตั ้งแต่อายุ 17 ปีจนอายุ 27 ปี ท างานเป็นเอนจิเนีย คุมช่าง หลังเลิกงานก็กินดื่มตามร้านต่างๆ ทำพฤติกรรมแบบนี้ติดต่อกันหลายปีจนเริ่มสังเกตว่า สุขภาพเริ่มแย่ลง ดื่มน้อยแต่มึนเหมือนคนเมามาก จึงเริ่มหยุดดื่มหันมาดูแลสุขภาพ แต่ก็ไม่ได้กินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด จนมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น เดินไม่ตรงนั่งแล้วหาย มีอาการบ้านหมุน จึงไปพบแพทย์ แต่ระหว่างที่รอพบแพทย์อาการกลับก าเริบ แสบตา ลิ้นแข็งพูดไม่ชัด แขนขาซีกหนึ่งเป็นอัมพาต อีกข้างอ่อนแรง ซึ่งเป็นอาการของโรคเรื้อรังที่เป็นผลพวงมาจากการดื่มเหล้า สูบบุหรี่มานานแม้จะเลิกแล้วก็ตาม แต่หากเมื่อไหร่ที่ละเลยสุขภาพ ก็จะท าให้อาการก าเริบได้ ส่วนเพื่อนๆ ที่เคยกินดื่มด้วยกันก็เริ่มป่วย และเสียชีวิตไปหลายคน จึงอยากเชิญชวนให้ลด ละ เลิกดื่มอย่างจริงจังก่อนจะสายเกินไป

วัน เวลา
September 19th 2023, 1:00 pm
ประเด็นการทำงานที่เกี่ยวข้อง
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สถานที่จัดกิจกรรม

โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กทม.

ผู้จัดกิจกรรม

เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต มูลนิธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว เครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับ และเครือข่ายชุมชนลดปัจจัยเสี่ยง สนับสนุนโดยส านักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ชื่อผู้ประสานงานกิจกรรม

นางสาวเครือมาศ ศรีจันทร์

เว๊ปไซต์ หรือ เฟสบุ๊คแฟนเพจ
รูปตัวอย่างกิจกรรมกลุ่มองค์กร

สงวนลิขสิทธิ์ 2021 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)